ข่าวแจ้งเตือนการระบาดศัตรูพืช ฉบับที่ 2 ประจำปี 2568 “แมลงดำหนามข้าว”

พืชอาศัย ข้าว หญ้าข้าวนก หญ้าขน หญ้าไซ หญ้าตีนนก อ้อย

รูปร่างลักษณะ

          ตัวหนอน ลำตัวแบนสีขาว ตัวหนอนกัดกินเนื้อเยื่อภายในใบข้าว เจริญเติบโตและเข้าดักแด้อยู่ภายในใบข้าว ระยะหนอน 7-12 วัน

          ตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็งสีดำ มีหนามแข็งแหลม ปกคลุมลำตัว ยาว 5-6 มม. เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ประมาณ 50 ฟอง ใกล้ปลายใบอ่อน มีอายุ 14-21 วัน

ลักษณะการเข้าทำลาย

          พบการระบาดได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะออกรวงโดยสามารถเข้าทำลายได้ทั้งระยะหนอนและตัวเต็มวัย

          ตัวหนอน ชอนใบข้าวกัดกินเนื้อเยื่อภายในใบข้าว เห็นเป็นรอยแผ่นสีขุ่นมัวขนานกับเส้นใบ

          ตัวเต็มวัย กัดกินและแทะผิวใบข้าวด้านบนทำให้เห็นเป็นรอยขูดเป็นสีขาวขนานกับเส้นกลางใบ

คำแนะนำป้องกันกำจัด

  1. หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
  2. กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงนา เนื่องจากวัชพืชบางชนิดเป็นพืชอาศัยของแมลงดำหนามข้าว
  3. ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน
  4. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
  5. การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียร์ อัตรา 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
  6. หากพบจำนวนตัวเต็มวัยมากกว่า 2 ตัวต่อกอ ควรใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ได้แก่ ฟิโปรนิล หรือคลอไทดะนิดีน อัตราตามฉลากแนะนำ

 

แหล่งข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร , กรมการข้าว

เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์ปฏิบัติการภายใต้กำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *