รูปร่างลักษณะ
ระยะตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ ปีกกว้าง 6.2-8.2 เซนติเมตร ปีกคู่หน้ามีสีชมพู ปีกคู่หลังสีน้ำตาลอ่อน หัว อก และท้องมีสีชมพูอ่อน เพศเมียวางไข่ฟองเดี่ยวบนใบและใต้ใบอ้อย ไข่กลมรีสีเขียวอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใกล้ฟัก
ระยะตัวหนอน มี 6 วัย ขนาด 5.5-8 เซนติเมตร ลำตัวสีเขียวหรือสีชมพูมีแถบสีขาวข้างลำตัว และแถบเข้มกลางหลัง 1 แถบโดยสีของตัวหนอนจะเปลี่ยนแปลงตามระยะการเจริญเติบโต
ดักแด้ เข้าดักแด้ในดิน ประมาณ 1 เดือน สามารถอยู่ในดินได้หลายเดือนจนกว่าจะมีสภาพอากาศที่เหมาะสมในการฟักออกเป็นตัวเต็มวัย
ลักษณะการทำลาย
หนอนจะอยู่บริเวณเส้นกลางใบหรือลำต้นในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะกัดกินส่วนใบ และยอดอ่อน สังเกตรอยทำลายได้จากปลายใบที่โดนหนอนกัดกิน
คำแนะนำป้องกันกำจัด
- ไถพรวน และตากดิน เพื่อทำลายดักแด้ในดิน
- หมั่นสำรวจแปลง เมื่อพบหนอนหรือไข่ให้นำไปทำลาย
- การใช้สารกำจัดแมลง
– อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
– อีมาเมกตินเบนโซเอต 5 % WG อัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
– เดลทราเมทริน 3% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
– อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
แหล่งข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร
เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์ปฏิบัติการภายใต้กำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี