ข่าวแจ้งเตือนการระบาดศัตรูพืช ฉบับที่ 10 ประจำปี 2567 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เกษตรเขต 2  เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เฝ้าระวัง การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เนื่องจากสภาพอากาศ ในช่วงนี้เหมาะต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดังนั้น ขอให้เกษตรกรควรเฝ้าระวัง และหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปลูกข้าวหนาแน่นจนเกินไป ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูง รวมทั้งสภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลา ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มจำนวนได้มากกว่าสภาพที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว เพราะสภาพที่มีความชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หากพบการระบาดให้ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง หรือสามารถขอคำแนะนำได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน

ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด

  1. การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตม มีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำ เพราะนาหว่านมีจำนวนต้นข้าวหนาแน่นทำให้อุณหภูมิ และความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  2. การใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้การเพิ่มจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว มีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจนทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำเหมาะแก่การเข้าดูดกิน และขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  3. การควบคุมน้ำในนาข้าว สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลา ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สามารถเพิ่มจำนวนได้มากกว่าสภาพที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว เพราะมีความชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  4. การใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัวเต็มวัย จะทำให้ศัตรูธรรมชาติถูกทำลาย และสารฆ่าแมลงก็ไม่สามารถทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากมามีโอกาสรอดชีวิตสูง

วิธีป้องกันกำจัด

  1. เริ่มจากการใช้พันธุ์ต้านทาน และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก
  2. ควรหมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันกำจัดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  3. ควรกำจัดวัชพืชรอบๆแปลงเนื่องจากเป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยเช่นเดียวกัน
  4. การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินความจ้าเป็น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดได้
  5. ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 1 กก. (เชื้อสด)ต่อน้ำ 20 ลิตร
  6. การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด เมื่อพบจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากกว่า 10 ตัว/กอ ได้แก่ สารไพมีโทรซีน ฟลอมิคามิค บูโพรเฟซิน สารอิทิโพล ไดโนทีฟูแรน อิมิดาคลอพริด ไทอะมีโทแซมไอโซโพคาร์บ ฟีโนบูคาร์บ เป็นต้น

***ห้ามใช้สารฆ่าแมลงที่ท้าให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้้าตาล เช่น ไพรีทรอยด์ ออแกโนฟอสเฟส คาร์บาเมต และอะบาเมกติน

แหล่งข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร , กรมการข้าว

เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *